top of page

PowerBank

  • Captain Sopon P.
  • 25 ก.พ. 2561
  • ยาว 1 นาที

วันนี้ (25Feb18) มีเหตุการณ์ที่อาจเกิดจาก PowerBank เกิดไฟไหม้ในช่องเก็บสัมภาระบนเครื่องบินของสายการบินหนึ่งในประเทศจีน

ผมเขียนเรื่อง PowerBank เอาไว้แล้วหลายครั้ง เพราะจากประสบการณ์นั้นยังคงมีผู้โดยสารไม่เข้าใจและนำ PowerBank ใส่กระเป๋าแล้วโหลดไปใต้ท้องเครื่องบิน

ถ้าดูวีดีโอนี้แล้วจะเข้าใจเลยว่า PowerBank นั้นหากเสื่อมสภาพหรือมีการชำรุด เราอาจมองไม่เห็นจากสภาพภายนอก และมันสามารถที่จะเกิดการติดไฟขึ้นมาได้เองแบบในวีดีโอนี้

"อย่าเอา PowerBank ใส่กระเป๋าใต้ท้องเครื่องบินนะครับ"

ข้อห้ามหรือข้อจำกัดของอุปกรณ์ Powerbank

ทำไมอุปกรณ์เหล่านี้จึงมีข้อจำกัดหรือข้อห้ามในการขึ้นเครื่องบิน

Powerbank หรือแบตเตอรี่สำรองที่เป็นอุปกรณ์สำรองไฟฟ้าเพื่อใช้สำหรับชาร์ตไฟให้กับอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ต่างๆ นั้นสามารถนำขึ้นบนเครื่องบินได้ แต่ในการนำขึ้นบนเครื่องบินนั้นมีข้อจำกัดว่า

Powerbank ไม่อนุญาตให้ใส่ในกระเป๋าสัมภาระที่จะโหลดไปใต้ท้องเครื่องบิน แต่อนุญาตให้พกติดตัวขึ้นไปบนเครื่องบินได้ในปริมาณตามข้อกำหนดดังนี้ครับ

* ความจุที่พกได้ : Power Bank ที่พกขึ้นเครื่องไปด้วยจะต้องมีความจุตรงตามที่สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือ IATA กำหนด คือความจุต่ำกว่า 20,000 mAh หรือน้อยกว่า 100 Whสามารถนำขึ้นเครื่องได้ไม่มีการจำกัดจำนวน ส่วนความจุระหว่าง 20,000-32,000 mAh หรือ 100-160 Wh สามารถนำขึ้นเครื่องได้ไม่เกินคนละ 2 ก้อน และความจุเกิน 32,000 mAh หรือ 160 Wh ห้ามนำขึ้นเครื่องในทุกกรณี

หลายท่านคงสงสัยว่าแล้วมันต่างกันยังไง ในเมื่อมันก็ถูกพาขึ้นไปบนเครื่องบินเหมือนกันนั่นแหละไม่ว่าจะอยู่ใต้ท้องเครื่องหรืออยู่ในกระเป๋าที่ถือติดตัวระหว่างเดินทาง

ความแตกต่างนั้นอยู่ที่ตรงวิธีในการจัดการในกรณีที่มีปัญหาครับ

ความจริงแล้ว powerbank นั้นถือเป็นอุปกรณ์ที่เข้าข่ายวัตถุอันตรายที่ติดไฟได้ง่ายหากมีการชำรุดแตกหักของตัวอุปกรณ์ และเมื่อติดไฟแล้วจะดับได้ยาก นั่นเป็นเพราะคุณสมบัติของสารลิเทียมที่เป็นองค์ประกอบหลักในการทำแบตเตอรี่สำรอง

"ลิเทียมอิออนนั้นสามารถติดไฟได้เองโดยไม่ต้องมีประกายไฟในการเร่งให้เกิดการเผาไหม้"

ทาง IATA ได้กำหนดข้อจำกัดเกี่ยวกับ Lithium Battery เอาไว้ ค่อนข้างชัดเจนและรัดกุม โดยแบ่ง การอนุญาตให้นำขึ้นเครื่องได้เป็น 2 แบบ คือ แบบที่สามารถนำติดตัวขึ้นเครื่องได้ กับแบบที่ ต้องบรรทุกเป็นสินค้าเท่านั้น เน้นคำว่า บรรทุกเป็นสินค้า นะครับ

ไม่อนุญาติให้ใส่ในกระเป๋าสัมภาระของเราแล้วโหลดใต้ท้องเครื่อง ในทุกกรณี การที่ Lithium Battery ถูกกำหนดให้ไปใต้ท้องเครื่องได้ ถ้าเป็นการบรรทุกเป็นสินค้านั้น เพราะว่า ต้องมีการทำบรรจุภัณท์พิเศษ มี packing instruction เป็นการเฉพาะ มีการทำเครื่องหมาย lebeling ที่ชัดเจน และ Lithium Battery บางประเภท ถูกกำหนดให้บรรทุกเป็นสินค้า ได้เฉพาะกับ เครื่องบินที่เป็นเครื่องบินบรรทุกสินค้าเท่านั้น (Cargo Aircraft)ไม่อนุญาตให้บรรทุกในเครื่องบินที่มีผู้โดยสาร

ต่อด้วยบทความในหนังสือ JibJib in-flight Magazine ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561

JIBjib-Feb18 สัมภาระ สิ่งของต้องห้ามในการนำขึ้นเครื่องบิน แบ่งออกเป็นสองแบบเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจน * ของที่ถือและนำติดตัวไปขึ้นเครื่องบิน * ของที่ใส่กระเป๋าเดินทางและต้องการโหลดไปใต้ท้องเครื่องบิน ของที่นำไปได้นั้นมีข้อห้ามที่แตกต่างกันอย่างไร ก่อนอื่นขอเล่าคร่าว ๆ ถึงหลักการทั่วไปกันก่อนครับ สัมภาระที่เรานำขึ้นเครื่องหลักการง่าย ๆ คือ จะต้องไม่เป็นอันตรายต่อเที่ยวบิน หรือสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการทำให้เที่ยวบินไม่ปลอดภัย สามารถใช้เป็นอาวุธหรือประกอบกันเป็นอุปกรณ์ที่ทำอันตรายได้ สามารถใชัขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ หรือเป็นอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่และการดำเนินงานในระหว่างทางทั้งภาวะปกติและโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีภาวะฉุกเฉินเกิดขึ้น โดยที่จะต้องคำนึงถึงภาพรวมของผู้โดยสารทั้งลำเป็นหลัก ทีนี้เราก็จะเริ่มมองเห็นแล้วว่า ของชิ้นใหญ่ ๆ ที่เกินกว่าขนาดของช่องเก็บสัมภาระนั้น ไม่ควรนำขึ้นเครื่องบิน เพราะจะเป็นสิ่งกีดขวางทั้งในการปฏิบัติงานปกติและในภาวะฉุกเฉินที่ต้องมีการอพยพออกจากเครื่อง ดังนั้นควรแจ้งให้พนักงานภาคพื้นทราบตั้งแต่ตอนเช็คอินเพื่อที่จะทำการโหลดไปใต้ท้องเครื่องบิน


อย่าใส่ในกระเป๋าเพื่อโหลดใต้ท้องเครื่องบินเด็ดขาด

-------------------------------- 💥💥ซื้อเลยหนังสือ A Pilot ✈️ ขายออนไลน์เท่านั้น ไม่มีวางแผง อยากรู้และเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับการบิน เกร็ดความรู้เวลาเดินทางบนเครื่องบิน อยากเป็นนักบิน สั่งหนังสือแอดไลน์ https://line.me/R/ti/p/%40a-pilot

ดูรายละเอียดหนังสือได้จาก SHOP https://www.apilot.club/shop

 
 
 

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด
Jelly Bean Cabin Safety

วีดีโอนี้น่ารักมาก ถูกใจตรงประเด็นและเป็นประโยชน์อย่างมาก อยากให้แชร์กันทั่ว ๆ จัดทำโดย CASA (หน่วยงานกำกับการบินพลเรือนของประเทศออสเตรเล...

 
 
 

Comentários


bottom of page